การใช้ภาษาในการสื่อสาร(2)

[-HoMe-] [-Thai M.5-] [-WeBBoArD-] Webmaster Contact usepasa usepasa(2) Custom Rich-Text Page What's New

 

สมาส

การวิเคราะห์คำสมาส และวิธีการสนธิในภาษาไทย

         ในภาษาไทยเรานิยมนำเอาทั้งคำสมาสและคำสนธิมาใช้ เหมือนกับภาษาไทยอีกส่วนหนึ่งและถือเสมือนว่าเป็นคำไพเราะ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเทวภาษา เป็นมงคลแก่ผู้ใช้ คำสมาสและสนธิในภาษาไทยจึงมีมากขึ้นๆ เพราะคนไทยเราสามารถสร้างคำใหม่ใช้ได้

การวิเคราะห์คำสมาสในภาษาไทย

        คำสมาส พจนานุกรมว่า "การที่เอาศัพท์นามตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักไวยากรณ์ของบาลีและสันสฤต"

           คำสมาส คือคำที่เกิดจากวิธีสมาส โดยย่นย่อคำของภาษาบาลีและสันสฤตเข้าเป็นคำเดียวอย่างเดียวกับคำประสมในภาษาไทย

           วิธีเข้าสมาสหรือวิธีย่อคำนั้น ปราชญ์กล่าวไว้ 6 ประการ คือกัมธารยสมาส,ทิคุสมาส,ทวันทวสมาส,ตัปปุริสสมาส,อัพยยีภาวสมาส และพหุพพิหิสมาส วิธีเข้าสมาสทั้ง 6 ประการนี้ยากแก่ผู่ที่มิได้เรียนภาษาบาลีสันสกฤตโดยตรง จึงขอกล่าวรวมไว้เพียง 2 ประการใหญ่คือ

(1) ลุตสมาส คือสมาสที่ลบวิภัตติ์

(2) อลุตสมาส คือ สมาสที่คงวิภัตติ์

         คำสมาสในภาบาลีสันสกฤตนั้น ไทยเรานิยมคำสมาสที่ลบวิภัตติ์แล้ว และนำส่วนที่เขาชอบมาใช้ มิได้นำมาเต็มรูปร่างของภาษาบาลีสันสกฤต เรานำคำสมาสมาใช้โดยการตัดวิภัตติ์ท้ายคำสมาสนั้นทิ้ง ให้เหลือแต่รูปศัพท์

       ลุตสมาส คือคำสมาสที่เกิดจากการลบวิภัตติ์ การลบวิภัตติ์นั้นคือลบวิภัตติ์จากคำที่จะเข้าสมาส โดยปกติเป็นบทหน้า เพราะคำที่ประกอบคำใดนั้นในภาษาบาลีสันสกฤตย่อมวางไว้หน้าศัพท์เสมอ เช่น พุทฺธสฺส โอวาโท สองคำนี้จะเข้าสมาสกัน เป็นคำเดียว คำพทฺทสฺส อยู่หน้าแจก ฉัฏฐึวิภัตติ์ โอวาโท บทหลังแจก ปฐมาวิภัตติ์ เวลาเข้าสมาสแล้วจะเป็นพุทฺธโอวาโท เราจะเห็นว่าวิภัตติ์ในคำว่า พุทฺธสฺส หายไป เหลือเพียงพุทฺธส่วนโอวาโท ยังอยู่จึงได้หลักว่าการเข้าสมาสในภาษาบาลีสันสกฤตนั้น ปราชญ์ท่านให้ลบแต่บทหน้า ซึ่งเป็นบทประกอบเท่านั้น ส่วนคำหลังจะต้องยืนปฐมาวิภัตติ์ไว้เสมอ คำว่า พุทฺธโอวาโท จึงเป็นคำสมาสเฉพาะในภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้น แต่พอคำสมาสนี้ตกมาถึงภาษาไทย เรานิยมตัดวิภัตติ์ โอ ทิ้ง คงเหลือเพียง พุทฺธโอวาท เท่านั้น แต่ถ้าวิภัตติ์ที่ลง อา อี และอื่นๆ จะไม่เปลี่ยนแปลง ขอพิจารณาวิเคราะห์คำสมาสดังนี้

(1) คำสมาสนั้นเกิดจากการนำศัพท์นามตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเข้าสมาสกัน เช่น กาโก อิว สูโร เป็น กากสูโร (คนกล้า เพียงดังกา) เรานำเอามาใช้ในภาษาไทยว่า กากสูร

(2)คำอุปสรรคและนิบาต ก็เข้าสมาสกับศัพท์นามได้ เช่น อนุชน สุคนธ์ อติเทพ อธิการ อภิธรรม อันโตปราสาท ฯลฯ

(3)คำสมาสนั้นมีลักษณะคล้ายกับ เอาคำภาษาบาลีสันสกฤตสองคำขึ้นไปมาวางเรียงเป็นคำเดียวกัน เช่น มยุรฉัตร มิตรภาพ วีรสตรี หัตถศึกษา พุทธวจนะ เกษตรกรรม มุขบุรุษ เทวสภา ธรรมกถา ฯลฯ

(4)คำสมาสบางคำ คำหน้าเป็นคำวิเศษณ์ สมาสกับคำหลังที่เป็นนาม และคำหลังนั้นพยางค์หน้า เป็นสระปราชญ์ให้เข้าสมาสได้อย่างคำสนธิ เช่น วร+โอกาส เป็นวโรกาส หรือ สุนทร สมาสกับ โอภาสเป็น สุนทโรภาส ฯลฯ

(5)คำสมาสมักแปลกลับกับคำไทย เช่น กาฬพักต์ (ดำ+หน้า) มุขบุรุษ (หัวหน้า+บุรุษ) สุนทรพจน์ (ไพเราะ+ถ้อยคำ) คุรุสภา (ของครู+สภา) มัคคนายก (ทาง+ผู้นำ) ฯลฯ

(6)คำสมาสบางคำ แปลว่า และ เช่น บุตรภรรยา (บุตรและภรรยา) สมณพราหมณ์ (สมณะและพราหมณ์) ฯลฯ

(7)คำสมาสนั้นต้องเป็นคำภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้น เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม อักษรศาสตร์ คำบางคำที่มีรูปร่างให้เราหลงว่าเป็นคำสมาส แต่ไม่ใช่ เพราะเป็นคำภาอื่นมาปะปน เช่น พุทธเจ้า ทุนทรัพย์ พลเรือน พลเมือง พระเก้าอี้ ฯลฯ

        อนึ่งเพื่อที่จะให้เข้าใจเรื่องคำสมาสดีขึ้น จะขอยกคำสมาสให้เห็นเป็นแนวทางกว้างขวางขึ้น ดังนี้

ก. คำสมาสมักจะออกเสียงเนื่องกันระหว่างคำหน้าและคำหลัง เช่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ชลประทาน ทศทิศ อิศวรนาถ เทวบุตร อิสรภาพ รุกขเทวดา ฯลฯ

ข. คำที่ลงท้ายด้วย กรรม เช่น เทวกรรม,เกษตรกรรม,วิศวกรรม,หัตถกรรม,พานิชยกรรม ฯลฯ

ค. คำที่ลงท้ายด้วย ศาสตร์ เช่น อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ สมุทรศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ

ง.คำที่ลงท้ายด้วย ภัย เช่น อัคคีภัย อุทกภัย ฉาตกภัย โจรภัย ราชภัย โอษฐภัย มหาภัย ทุพภิกขภัย ฯลฯ

What's New with My Subject?

If I didn't include a news section about my site's topic on my home page, then I could include it here.